หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง : ด้านการบัญชาการเหตุการณ์ (ICS)

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง

 : ด้านการบัญชาการเหตุการณ์

(Enhancing Fire Fighting Capabilities for Leader of fire fighter Team

:  ICS)

              

        การเป็นหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการควบคุมสั่งการ ณ  จุดเกิดเหตุ   ที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ในการพิจารณาสถานการณ์เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพราะการประเมินสถานการณ์ ในการสั่งใช้และกำหนดกลยุทธ์  ในการตอบโต้ภัยจากอัคคีภัย ที่เกิดได้อย่างทันท่วงทีนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เรื่องการ พัฒนาการของไฟ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เอื้ออานวย ในการผจญเพลิง  รวมทั้งต้องสามารถประเมินสถานการณ์ของเพลิงไหม้  ว่าจะต้องใช้รถดับเพลิงจานวนเท่าใด   และผู้ทำหน้าที่ดับเพลิงจานวนเท่าใด     ให้เหมาะสมกับสภาพของไฟ และสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่เกิดเหตุ     เพื่อควบคุมป้องกันมิให้เพลิงไหม้ลุกลาม      และขยายวงกว้างออกไป    เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิงของภาครัฐ  ท้องถิ่น เอกชน และประชาชนให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานผจญเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล และเกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ทีมงานดับเพลิงและองค์กร สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย   ร่วมกับหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมทั้ง 5 หน่วยงาน   ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง  เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการผจญเพลิง ได้มีโอกาสพัฒนาเพิ่มพูนความรู้  ทักษะ ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ มีภาวะผู้นา    ควบคุมสั่งการ  วางแผนการผจญเพลิง และเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ เพราะนอกจากจะต้องปฏิบัติงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายและชีวิตแล้ว หัวหน้าชุดดับเพลิงจะต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำของทีมปฏิบัติงาน   จึงได้จัดหลักสูตร    การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง: ด้านการบัญชาการเหตุการณ์  ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้   ทักษะ   ขีดความสามารถให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่   หัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง”  ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ที่เป็นหลักในการประเมินสถานการณ์ เสริมสร้างสภาวะผู้นำ  ทำให้กล้าตัดสินใจ มีความสามารถในการถ่ายทอดเทคนิค   ทักษะวิชาการด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ สาหรับการป้องกันความปลอดภัยแก่ตนเองและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานดับเพลิงและกู้ภัย  แก่ทีมงาน     เพื่อให้มีมาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพ  ตามแนวทางปฏิบัติของระบบการบัญชาการเหตูการณ์ (ICS )   ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ทีมงานในฐานะหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิงของทุกองค์กร

 

 กลุ่มเป้าหมาย

            เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาความปลอดภัยอาคาร/สถานที่  การดับเพลิง การกู้ชีพ กู้ภัย   ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม  มูลนิธิ  อาสาสมัคร   สมาคม  และประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติ   ดังนี้

                คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

          1) วุฒิการศึกษา ( ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า )

          2) อายุ 18 – 50 ปี

3) เป็นผู้มีหน้าที่ หรือได้รับมอบหมายภารกิจเป็นหัวหน้าชุดดับเพลิง หรือผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  รักษาความปลอดภัย กู้ชีพ กู้ภัย ดับเพลิง  หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4) เคยผ่านการฝึกอบรม หลักสูตร ด้านกู้ชีพ กู้ภัย  หรือหลักสูตรการดับเพลิงขั้นต้น  หรือการดับเพลิงขั้นก้าวหน้า มาแล้ว

          5) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจาตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

          6) มีความพร้อมสามารถเข้ารับการอบรม ได้ตลอดระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด

 

 ระยะเวลาดำเนินการ/สถานที่อบรม/หัวข้อวิชา/วิธีการฝึกอบรม

                    ดำเนินการฝึกอบรมจำนวนปีละ 2 รุ่น   รุ่นละ 3 วัน ผู้อบรมรุ่นละ 30 คนอบรมระหว่าง เดือนสิงหาคม 2559     ถึง    มีนาคม 2560   ณ โรงเรียนดับเพลิงและกู้ภัยราชประชา  อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา    โดยการฝึกอบรมในภาคทฤษฎี  ประกอบด้วยวิธีบรรยาย  ใช้สื่อประกอบ   ฝึกอบรมเชิงสาธิต   

 และการฝึกปฏิบัติภาคสนาม  และฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองต่างๆ  ฯลฯ  

หัวข้อวิชา (ภาคทฤษฎี)

Ÿ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 ปี 2550และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558                     จำนวน  1.5  ชั่วโมง

Ÿ การบริหารจัดการสาธารณภัย ในภาวะฉุกเฉิน  และความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ

และการควบคุมสถานการณ์      สาธารณภัยต่างๆ                                          จำนวน    1.5       ชั่วโมง

Ÿ ความเป็นมาหลักแนวคิดพื้นฐานและคุณลักษณะพื้นฐาน

ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ และการควบคุม สั่งการ                                     จำนวน     1.5       ชั่วโมง    

 

Ÿ การบริหารงานในหน้าที่และตำแหน่งในระบบการบัญชาการเหตุการณ์  

   และการวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร                                                 จำนวน     1.5       ชั่วโมง

 Ÿภาวการณ์เป็นผู้นำ     (Leadership)                                                      จำนวน        3       ชั่วโมง

 Ÿการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบบัญชาการเหตุการณ์

   และ การสื่อสาร/ การจัดทำแผนเผชิญเหตุเบื้องต้น

  การบริหารจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์                                                      จำนวน       3       ชั่วโมง

Ÿ ความยืดหยุ่นขององค์กร การจัดการทรัพยากร    

   และกระบวนการวางแผนการถอนกำลัง                                                   จำนวน      1      ชั่วโมง

Ÿ สรุปบทเรียนและตอบข้อซักถาม                                                               จำนวน       2       ชั่วโมง

หัวข้อวิชา (ภาคปฏิบัติ)

Ÿ กิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติ ( TTX )  การปฏิบัติการบัญชาการเหตุการณ์และการวางแผนในเหตุการณ์จำลอง    ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ  ในอาคาร   จำนวน       2       ชั่วโมง

Ÿกิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติ   (FTX)   กิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติการบัญชาการเหตุการณ์ในเหตุการณ์จำลอง ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ  ในอาคาร            จำนวน       3       ชั่วโมง

Ÿกิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติ(FTX)   โดยวิธีการแข่งขัน การบัญชาการเหตุการณ์และการวางแผน

 ในกรณีเกิดเหตุการณ์สาธารณภัย  สองรูปแบบ โดยแบ่ง  กลุ่ม                           จำนวน       3       ชั่วโมง

 

Ÿ สรุปบทเรียนและตอบข้อซักถาม และ ประเมินผลการฝึกอบรม                          จำนวน       2       ชั่วโมง

                               

 

รวมภาคทฤษฎี   /   ฝึกปฏิบัติ    และประเมินผล     จำนวนทั้งสิ้น   25   ชั่วโมง

         เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 94,459