หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง : ด้านการบัญชาการเหตุการณ์ (ICS)
หลักสูตร
การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง
: ด้านการบัญชาการเหตุการณ์
(Enhancing Fire Fighting Capabilities
for Leader of fire fighter Team
:
ICS)
การเป็นหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง
ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการควบคุมสั่งการ ณ จุดเกิดเหตุ ที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ประสบการณ์ ในการพิจารณาสถานการณ์เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพราะการประเมินสถานการณ์ ในการสั่งใช้และกำหนดกลยุทธ์
ในการตอบโต้ภัยจากอัคคีภัย
ที่เกิดได้อย่างทันท่วงทีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เรื่องการ
พัฒนาการของไฟ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เอื้ออานวย ในการผจญเพลิง รวมทั้งต้องสามารถประเมินสถานการณ์ของเพลิงไหม้ ว่าจะต้องใช้รถดับเพลิงจานวนเท่าใด และผู้ทำหน้าที่ดับเพลิงจานวนเท่าใด
ให้เหมาะสมกับสภาพของไฟ
และสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อควบคุมป้องกันมิให้เพลิงไหม้ลุกลาม และขยายวงกว้างออกไป เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน “หัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง”
ของภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และประชาชนให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานผจญเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
และเกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ทีมงานดับเพลิงและองค์กร
สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย
ร่วมกับหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมทั้ง 5 หน่วยงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง
เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการผจญเพลิง
ได้มีโอกาสพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ
ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ มีภาวะผู้นา
ควบคุมสั่งการ วางแผนการผจญเพลิง และเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ได้
เพราะนอกจากจะต้องปฏิบัติงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายและชีวิตแล้ว “หัวหน้าชุดดับเพลิง” จะต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
เป็นผู้นำของทีมปฏิบัติงาน จึงได้จัดหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง:
ด้านการบัญชาการเหตุการณ์”
ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ขีดความสามารถให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ “หัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิง” ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ที่เป็นหลักในการประเมินสถานการณ์
เสริมสร้างสภาวะผู้นำ ทำให้กล้าตัดสินใจ
มีความสามารถในการถ่ายทอดเทคนิค ทักษะวิชาการด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ
สาหรับการป้องกันความปลอดภัยแก่ตนเองและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานดับเพลิงและกู้ภัย แก่ทีมงาน
เพื่อให้มีมาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพ ตามแนวทางปฏิบัติของระบบการบัญชาการเหตูการณ์ (ICS
) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ทีมงานในฐานะหัวหน้าชุดทีมงานดับเพลิงของทุกองค์กร
กลุ่มเป้าหมาย
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รักษาความปลอดภัยอาคาร/สถานที่ การดับเพลิง
การกู้ชีพ กู้ภัย ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน
รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม มูลนิธิ อาสาสมัคร สมาคม และประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1) วุฒิการศึกษา (
ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า )
2) อายุ 18 – 50 ปี
3) เป็นผู้มีหน้าที่
หรือได้รับมอบหมายภารกิจเป็นหัวหน้าชุดดับเพลิง
หรือผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาความปลอดภัย กู้ชีพ – กู้ภัย ดับเพลิง หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4) เคยผ่านการฝึกอบรม
หลักสูตร ด้านกู้ชีพ – กู้ภัย หรือหลักสูตรการดับเพลิงขั้นต้น หรือการดับเพลิงขั้นก้าวหน้า มาแล้ว
5) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ไม่มีโรคประจาตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกปฏิบัติภาคสนาม
6) มีความพร้อมสามารถเข้ารับการอบรม
ได้ตลอดระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
ระยะเวลาดำเนินการ/สถานที่อบรม/หัวข้อวิชา/วิธีการฝึกอบรม
ดำเนินการฝึกอบรมจำนวนปีละ 2 รุ่น รุ่นละ 3 วัน
ผู้อบรมรุ่นละ 30 คนอบรมระหว่าง เดือนสิงหาคม 2559 ถึง มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนดับเพลิงและกู้ภัยราชประชา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการฝึกอบรมในภาคทฤษฎี ประกอบด้วยวิธีบรรยาย ใช้สื่อประกอบ
ฝึกอบรมเชิงสาธิต
และการฝึกปฏิบัติภาคสนาม และฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองต่างๆ ฯลฯ
หัวข้อวิชา
(ภาคทฤษฎี)
พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ปี 2550และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2558 จำนวน 1.5 ชั่วโมง
การบริหารจัดการสาธารณภัย ในภาวะฉุกเฉิน และความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ
และการควบคุมสถานการณ์
สาธารณภัยต่างๆ จำนวน 1.5 ชั่วโมง
ความเป็นมาหลักแนวคิดพื้นฐานและคุณลักษณะพื้นฐาน
ของระบบบัญชาการเหตุการณ์
และการควบคุม สั่งการ จำนวน 1.5 ชั่วโมง
การบริหารงานในหน้าที่และตำแหน่งในระบบการบัญชาการเหตุการณ์
และการวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร จำนวน 1.5 ชั่วโมง
ภาวการณ์เป็นผู้นำ (Leadership) จำนวน 3 ชั่วโมง
การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบบัญชาการเหตุการณ์
และ
การสื่อสาร/ การจัดทำแผนเผชิญเหตุเบื้องต้น
การบริหารจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ จำนวน 3 ชั่วโมง
ความยืดหยุ่นขององค์กร การจัดการทรัพยากร
และกระบวนการวางแผนการถอนกำลัง จำนวน 1 ชั่วโมง
สรุปบทเรียนและตอบข้อซักถาม
จำนวน 2
ชั่วโมง
หัวข้อวิชา
(ภาคปฏิบัติ)
กิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติ ( TTX ) การปฏิบัติการบัญชาการเหตุการณ์และการวางแผนในเหตุการณ์จำลอง
ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ในอาคาร จำนวน 2 ชั่วโมง
กิจกรรมฝึกหัด
การปฏิบัติ (FTX) กิจกรรมฝึกหัด การปฏิบัติการบัญชาการเหตุการณ์ในเหตุการณ์จำลอง ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ในอาคาร จำนวน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมฝึกหัด
การปฏิบัติ(FTX) โดยวิธีการแข่งขัน การบัญชาการเหตุการณ์และการวางแผน
ในกรณีเกิดเหตุการณ์สาธารณภัย สองรูปแบบ โดยแบ่ง 2 กลุ่ม จำนวน 3 ชั่วโมง
สรุปบทเรียนและตอบข้อซักถาม และ ประเมินผลการฝึกอบรม จำนวน 2 ชั่วโมง
รวมภาคทฤษฎี / ฝึกปฏิบัติ และประเมินผล จำนวนทั้งสิ้น
25 ชั่วโมง
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด
กรุณาใส่ข้อความ …